พระแม่กวนอิม

พระแม่กวนอิม
พระ แม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ เป็นพระโบราณทรงบำเพ็ญสำเร็จพระโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เมื่ออดีตอันยาวนานจนมิอาจคำนวณนับจำนวนกัปกัลป์ได้ โพธิจิตของพระองค์ท่านได้สำเร็จด้วยการพิจารณาจนถึงที่สุดแห่งกระแสเสียง และทรงนิ่งอยู่ในอารมณ์ธรรมชาติของกระแสนั้น จนบรรลุถึงจุดนิ่งสุดของความนิ่งทั้งปวง อันเป็นธรรมชาติแห่งสุญญตา ด้วยจิตที่นิ่งที่สุดในสุญญตานี้ จึงทรงเป็นอกริยาที่เหนือผัสสะ ความเกิดดับ ความหวั่นไหว และไม่หวั่นไหวทั้งปวง เสียงของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนในทุกหนทุกแห่ง ล้วนอยู่ในสายตาความรู้เห็นของพระองค์ทั้งสิ้น ไม่มีเสียงใดในโลกหรือนอกโบกที่จะพ้นไปจากพระกระแสแห่งความรู้เห็นของ พระองค์พระนามของพระองค์ “กวนอิม” จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งว่า “ผู้เงี่ยหูฟังเสียงร้องของโลก”
ด้วยพระบารมีอันสั่งสมมานานของพระองค์ท่าน จึงทรงสามารถสำแดงแปลงพระกายได้ถึงพันพระเศียรพันพระกร พันพระเนตร ตลอดจนสามารถเนรมิตกายเพื่อโปรดสรรพสัตว์ในรูปกายต่าง ๆ ได้มากมายมหาศษลตามที่ปรากฏในพระสัทธธรรมปุณฑริกสูตรฉบับภาษาจีน (เมียวฮวบไหน่ฮัวเกง) ได้กล่าว่า พระองค์ท่านมีนิรมาณกาย 32 ปางใหญ่ ด้วยบุญญาภินิหารและอิทธิปาฏิหาริยันล้นพ้นของพระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ สุดที่จะประมาณได้ ซึ่งไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ใดที่จะโปรดได้มากเสมอเหมือน

ปางที่ชาวโลกนิยมบูชาพระองค์ท่านมากที่สุดคือ ปางเพศสตรีโดยชาวพุทธมหายานในประเทศอินเดียเอ่ยพระนามพระองค์ท่านตามภาษาสันสกฤตว่า “อวโลกิเตศวร” ครั้นพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน จึงได้รับการแปลชื่อพระองค์ท่านตามศัพท์เป็นภาษาจีนว่า “กวนซืออิม” ซึ่งพระธรรมาจารย์กุมารชีพได้แปลความหมายว่า “ผู้เพ่งเสียงแห่งโลก” ต่อมาเนื่องจากคำว่า “ซือ” ไปตรงกับพระนามของจักรพรรดิถังไท่จง คือ หลี่ซือหมิง ดังนั้นจึงมีพระราชโองการให้ตัดคำว่า “ซือ” ออกเหลือแต่คำว่า “กวนอิม” นอกจากพระนามกวนอิมนี้แล้ว ก็ยังมีบางคนเอ่ยพระนามพระองค์ท่านว่า “กวนจื๋อไจ๋” ซึ่งสมณะเฮียนจั่งหรือที่ชาวไทยรู้จักกันดีในนามพระถังชำจั๋ง ได้เป็นผู้แปลใหม่มีความหมายว่า “ผู้เพ่งโดยอิสระ” แต่คนทั่วไปยังนิยมออกพระนามว่า “พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์” พระแม่มหาเมตตา มาจนทุกวันนี้
ด้วยพระนามที่ขึ้นต้นด้วย “พระแม่” นี้ ทำให้บางคนคิดว่าพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ทรางเป็นเพศสตรีอันอ่อนแอ ต่ำต้อยกว่าบุรุษ ซึ่งสำหรับปุถุชนทั่วไปแล้วย่อมเป็นเล่นนั้น แต่สำหรับพระองค์ท่านย่อมอยู่เหนือกฏเกณฑ์ เพราะคำว่า “เพศ” นี้ มีอยู่เฉพาะในมวลสัตว์ และใช้สำหรับผู้ที่ยังไม่สำเร็จเท่านั้น พระอริยเจ้าทุกพระองค์หรือผู้ที่สำเร็จแล้วย่อมอยู่เหนือคำว่าเพศ พระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ด้วยรูปปางต่าง ๆ ตั้งแต่ปางพุทธะลงมาจนถึงปางเทพ ยักษ์ มนุษย์ และอมนุษย์ โดยไม่จำกัดทั้งเพศและวัย รูปปางที่ปรากฏตามเพศวัยต่าง ๆ ในการโปรดสัตว์ของพระองค์ท่านนี้ เป็นภาวะที่เกินปัญญาของคนธรรมดาจะรู้ได้ พระองค์ท่านก็ทรงเป็นพระองค์ท่าน ปรากฏการณ์ก็คือปรากฏการณ์ การจะจำกัดพระองค์ท่านในรูปปางนั้น เพศนั้น วัยนั้น ตามปรากฏการณ์เสียทีเดียวย่อมไม่น่าจะถูกต้อง เพราะด้วยจิตศรัทธาที่แน่วแน่มั่นคง การบูชาย่อมเป็นประโยชน์ และเข้าถึงพระองค์ท่านได้โดยไม่จำกัดว่าเป็นรูปปางใด

ส่วน คำว่ากรรมหรือกฎแห่งกรรมนั้น เป็นสิ่งคู่ไปกับการเกิดดับในสรรพสัตว์ เหมือนเงาตามตัวโดยไม่มีการยกเว้น แต่สำหรับพระองค์ท่านมูลเหตุแห่งกรรม ได้ระงับไปด้วยจิตแห่งสุญญตา อันเป็นภาวะที่เหนือทั้งเกิดดับ และกรรมทั้งปวง เมื่อกรรมไม่มี กฎแห่งกรรมก็ไม่เกิด พระองค์ท่านจึงทรงเหนือซึ่งความหมายของคำว่าเพศ กรรม และกฎแห่งกรรม ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติของสุญญตา ผู้ที่บูชาพระองค์ท่านด้วยความเพียร หากมีความปรารถนาที่จะได้คู่ครอง ปรารถนาที่จะได้บุตรธิดา ปรารถนาที่จะมีทรัพย์สมบัติปรารถนาที่จะมีสุขภาพแข็งแรง ปรารถนาที่จะได้ฌานสมาบัติ ปรารถนาที่จะได้มรรคผลนิพพาน ความปรารถนาทั้งหมดนี้ก็จะสามารถสมหวังได้ ด้วยอำนาจแห่งพระบารมีของพระองค์
คำว่า “แม่” นอกจากจะมีความหมายสำคัญอยู่ที่การเป็นผู้ให้กำเนิดแล้ว ยังเป็นคำที่ดีที่สุด มีความหมายที่สุด สำคัญที่สุด ประเสริฐที่สุด มีคุณค่าที่สุด ลึกซึ้งที่สุด อบอุ่นที่สุด เมตตาที่สุด ให้อภัยที่สุด น่ายกย่องที่สุด และน่าเคารพรักบูชาที่สุด ไม่มีคำใดในโลกนี้จะมีค่าเหมือน ไม่มีคำในโลกนี้จะอบอุ่นเกิน ไม่มีความรักใดในโลกนี้จะบริสุทธิ์เท่า ไม่มีความรักใดในโลกนี้ที่จะยิ่งใหญ่เกิน เป็นความรักที่เต็มใจเสียสละและพร้อมจะให้ได้ทุกอย่าง เป็นความรักที่เปี่ยมด้วยความเมตตาอย่างสุดซึ้ง ไม่มีสิ่งใดที่จะให้ไม่ได้สำหรับความรักของคำว่า “แม่” จากความสำคัญทั้งหมดดังกล่าวนี้ คำว่า “แม่” จึงได้ปรากฏรวมอยู่ในพระนามของพระองค์ท่านด้วย อันเป็นการแสดงถึงความยกย่องที่สุด นอบน้อมที่สุด เคารพบูชาที่สุด
การ บูชาพระองค์ท่านจะทำให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่กับแม่ อยู่ใกล้แม่ ในโลกนี้ไม่มีผู้ใดจะรู้และเข้าใจถึงเสียงของสรรพสัตว์สรรพสิ่งได้ดีเท่า พระองค์ และไม่มีผู้ใดในโลกจะเมตตาเกินพระองค์ จงไว้วางใจในความรักความเมตตาของพระองค์ท่าน และมอบถวายความรักความบูชาไว้กับพระองค์ผู้ที่อยู่ใต้ความรักความเมตตาของ พระองค์ เคราะห์กรรมภัยพิบัติจะดับสูญ ทุกสิ่งจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ชีวิตจะร่มเย็นเป็นสุขสมปรารถนาด้วยพระบารมี

พระแม่กวนอิมปางพันมือ
พระแม่กวนอิมปางพันมือ หรือ พระแม่กวนอิมปางพันเนตรพันกรเป็นปางหนึ่ง ของพระ
มหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีมาแล้ว เกิดอุทกภัย ครั้งใหญ่ใน
ประเทศจีน ฝนตกหนักน้ำในแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำวิปโยคท่วมท้น ผู้คนจำนวนมาก
ถูกกระแสน้ำพัดพาไป พุทธศาสนิกชน ได้สวดมนต์วิงวอน พระโพธิสัตว์กวนอิมขอให้
ทรงช่วย ทำให้พระองค์ต้องเสด็จลงมาช่วยผู้ที่ถูกน้ำท่วม แต่การมีเพียง สองมือย่อม
ช่วยไม่ทันเหตุการณ์ พระองค์จึงทรงตั้งจิตอธิษฐาน ว่าขอให้มีพันเนตรพันกร จะได้ช่วย
คนได้ครั้งละพันคน พุทธศาสนิกชนชาวจีน จึงสร้างองค์สมมติพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศว
รปางพันเนตรพันกรขึ้น จะสังเกต ได้ว่าแต่ละพระหัตถ์มีพระเนตรอยู่กลางฝ่าพระหัตถ์ อัน
เป็นสัญลักษณ์แสดงถึง ความเอื้ออาทรที่จะโปรดสัตว์ผู้อยู่ในห้วงทุกข์อันหาขอบเขตมิได้


ปางของพระแม่กวนอิม

ปางที่ 1 พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ถือประคำ

(1) นำมอฮอลาตันนอ ตอลาเหย่ เย

นอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม

ปางที่ 2 พระจินดามณีจักรอวโลกิเตศวร ถือธรรมจักร

(2) นำมอออหลีเย

นอบน้อมนมัสการองค์พระอริยะ

ปางที่ 3 พระอวโลกิเตศวร ปางอุ้มบาตร

(3) ผ่อลูกิดตี ซอปอลาเย

ขอน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ผู้เพ่ง เสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
ปางที่ 4 พระอมงบาศโพธิสัตว์

(4) ผู่ทีสัตตอผ่อเย

ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้การตรัสรู้แก่ทุกชีวิต

ปางที่ 5 พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงพัสตราภรณ์

สีขาว

(5) หม่อฮอสัตตอผ่อเย

เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น

ปางที่ 6 พระอัศวโฆษ

(6) หม่อฮอเกียลู

ขอน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

ปางที่ 7
ราชาแห่งแทพทั้งปวง

(7) งัน (โอม)

นอบน้อม เป็นมารดาแห่งธารณีทั้งหลาย

ปางที่ 8 ท้าวจตุโลกบาล โปรดพวกมาร ด้วยพระบารมี 6

(8) สัตพันลาฮัวอี

ใจกายสะอาดเหล่ามารมาทำร้ายไม่ได้

ปางที่ 9 ท้าวจตุโลกบาลเทวราช เสด็จพร้อมด้วยเทพเจ้าแห่งภูติปีศาจในบังคับบัญชา

(9) ซูตันนอตันแช

พระอริยะแสดงอภินิหารปกปักษ์รักษา และตักเตือนมนุษย์

ให้ตั้งใจมุ่งไปทางธรรม
ปางที่ 10 พระนาคารชุนวัชราธรโพธิสัตว์

(10) นำมอสิตกิตหลี ตออีหม่งออหลีเย

ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับความคุ้มครองและจำต้องปฏิบัติธรรม

โดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคง ไม่เร่งรีบ

ปางที่ 11 สัมโภคกาย แห่งพระไวโรจนะพุทธเจ้า

(11) ผ่อลูกิตตีซือฮุลา เลงถ่อพอ

พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมมุ่งไปข้างหน้า สำรวมจิตให้เป็นสมาธิ

ปางที่ 12 พระไวโรจนพุทธเจ้า อันเป็นธรรมกาย

(12) นำมอนอลากินซี

พระโพธิสัตว์ย้ำเตือนชาวโลกให้มีไตรสรณคมน์

ปฏิบัติตน อยู่ในมนุษยธรรม

ปางที่ 13
พระรูปเมษศีรษะเทพเจ้า

(13) ซีหลีหม่อฮอ พันตาซาแม

พระโพธิสัตว์ ทรงกล่าวพระคาถาเตือนจิตให้มุนษย์ผ่อน ใจในทางโลก โน้มน้าวจิตมาในทางมรรคผล

ปางที่ 14 อมฤตโพธิสัตว์

หัตถ์ถืออมฤตกุนฑี (หม้อน้ำมนต์) และกิ่งทับทิม

(14) สัตผ่อออทอเตาซีพง

พระโพธิสัตว์ ทรงประทานพระคาถาบทนี้เพื่อมุนษย์ทุกคน

สามารถรู้ได้เห็นได้ และบรรลุสู่พระพุทธภูมิโดยเสมอกัน

ปางที่ 15 ยักษ์เหินหาว (ตรวจตราทั่วทิศทั้งสี่ทิศ)

(15) ออซีเย็น

พระโพธิสัตว์ จำแลงเป็นพญายักษ์แสดงอภินิหารตักเตือน

มนุษย์ให้ละบาป และบำเพ็ญบุญ

ปางที่ 16 เทพเจ้าภคติ หัตถ์ถือโตมรเป็นศาสตราวุธ

(16) สัตผ่อสัตตอ นอมอผ่อสัตตอ นอมอผ่อเค

นักปราชญ์หรือผู้โง่เขลาเบาปัญญา คนหรือสัตว์ สามารถ

หลุดพ้นได้ ถ้าปฏิบัติตามพุทธธรรมด้วยความเคารพ

ปางที่ 17 ปกุนตาลี หัตถ์ถือจักรและบ่วงบาศก์

มีนัยน์ตา 3 ดวง

(17) มอฮัวเตอเตา

ผู้ปฏิบัติธรรมต้องถือสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ข้องแวะ

ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ดับกิเลสให้จิตสงบ

ปางที่ 18 พระอรหันต์

(18) ตันจิตทอ

ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องยังผลให้จิตต้องตรงกับ

พระ ธรรม อย่าให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้น 

ปางที่ 19
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ประทับนั่งพนมมือ

(19) งันออผ่อลูซี

ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว

ปางที่ 20 พระมหาพรหมเทพราช

(20) ลูเกียตี

พระโพธิสัตว์ตักเตือนสรรพสัตว์ให้รักษาความมี

กุศลจิตให้สะอาดบริสุทธิ์

ปางที่ 21 เทพเจ้า ช่วยเหลือสรรพสัตว์

(21) เกียหล่อตี

คาถาที่พระโพธิสัตว์มีเมตตาจิต กรุณาจิต ชักชวนให้มนุษย์ปฏิบัติธรรมเมื่อจิตสงบ

ก็เปลี่ยนร้ายเป็นดี บาปเป็นบุญได้ 

ปางที่ 22 เทพเจ้ามเหศวรแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

(นำทัพเทพยดามาโปรดเหล่าสัตว์)

(22) อีซีหลี่

พระโพธิสัตว์ทรงมีความเมตตากรุณา สรรพสัตว์ใดที่รับ

ความไม่เป็นสุข จะทรงตามไปช่วยตามเสียงที่ร้องขอ

ปางที่ 23 พระโพธิสัตว์ใช้ความเมตตากรุณาอันบริสุทธิ์

เป็นพระคาถาที่มีความเป็นอนัตตา

(23) หม่อฮอผู่ทีสัตตอ

พระโพธิสัตว์มุ่งชี้แนวทาง สรรพสิ่งเป็นสูญ

ปางที่ 24 คนธาลัยโพธิสัตว์

(นำทัพภูติผี 5 ทิศ มาโปรดสัตว์)

(24) สัตพอสัตพอ

พุทธธรรมมีความเสมอภาค

ปางที่ 25
พระปัณฑรวาสินีโพธิสัตว์

หัตถ์ขวาถือแก้วมณี หัตถ์ซ้ายอุ้มชูเด็ก

(25) มอลามอลา

สัตว์โลกจะได้รับพรให้มีอายุยืนยาว
ปางที่ 26 พระอมิตาภเจ้า

(26) มอซีมอซี ลีถ่อเย็น

ผู้มีจิตว่างสะอาดทั้งกายและจิตเมื่อลงปฏิบัติแล้วย่อม

สามารถบรรลุมรรคผลได้ และไม่มีวันเสื่อมถอย

ปางที่ 27 เป็นอากาศกายโพธิสัตว์

(นำทัพเหล่าเทพโปรดสัตว์)

(27) กีลู กีลู กิตมง

ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตอันเป็นกุศล เทพเจ้าจะอำนวยพร
ปางที่ 28 พระอุครโพธิสัตว์

(คุมทหารของมยุรราชปราบมาร) 

(28) ตูลู ตูลู ฮัวแซเหย่ตี

พระโพธิสัตว์มุ่งสั่งสอนผู้ปฏิบัติให้เห็นแจ้งในแนวทาง

ที่ เข้าถึงพระธรรมอันบริสุทธิ์อย่างแท้จริง

ปางที่ 29 แม่ทัพมหาพละ หัตถ์ถือคทาคุ้มครองสรรพสัตว์ผู้เพียรปฏิบัติธรรม

(29) หม่อฮอฮัวเซเยตี

พระคาถานี้มุ่งกำจัดความหลงผิด เพื่อปล่อยวาง

เมื่อจิต บริสุทธิ์เหล่ามารก็ไม่อาจรบกวน

ปางที่ 30 มหาบุรุษบำเพ็ญทุกขกิริยา

(กระทำกิจที่กระทำได้ยาก)

(30) ทอลาทอลา

กิเลสอันเปรียบดุจฝุ่นละออง, ธุลี ถ้าจิตมีเศษเสี้ยว

แห่ง กิเลสเกาะอยู่ก็ยากที่จะเห็นธรรม

ปางที่ 31
พระโพธิสัตว์ ประทับพญาราชสีห์

(31) ตีลีนี

สรรพสัตว์โลกทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรล้วนสามารถได้รับ

การโปรดได้ โดยเฉพาะหญิงสาวให้ปฏิบัติธรรมโดยเร็ว

ปางที่ 32 พระคำรามโพธิสัตว์

หัตถ์ถือคทาทองเป็นศาสตราวุธ

(32) สิดฮูลาเย

เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงองค์มรรค จิตย่อมสะอาดสามารถ สำเร็จเป็นพุทธะอันพิสุทธิ์เปล่งปลั่งด้วยรัศมี

ปางที่ 33 พระหักหาญโพธิสัตว์ หัตถ์ถือสุวรรณจักร

(33) เจลาเจลา

ธรรมะเหมือนดั่งฟ้าร้องคำราม ดังไปทุกสารทิศเป็นเสียง

แห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินก็จะเกิดสะดุ้งกลัว 

ปางที่ 34 พระอภิจารกมารวชิร หัตถ์ถือสุวรรณจักร

(34) มอมอฮัวมอลา

คุ้มครองสัตว์โลกให้มีความเป็นสิริมงคล

ปางที่ 35 พระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์พนมมือ

(35) หมกตีลี

ผู้ปฏิบัติธรรมทำจิตให้สะอาดผ่องใส่ สาธยายมนต์ด้วย

ความสงบก็จะบรรลุพระพุทธผล

ปางที่ 36 พระมเหศวรเทวราช

(36) อีซีอีซี

ทุกสรรพสิ่งดำเนินไปตามธรรมชาติ

เหตุปัจจัยแห่งชะตา

ปางที่ 37 กาณะมารเทพราช

(สั่งสอนเหล่าทวยเทพอย่าให้ร้ายมนุษย์)

(37) สึดนอสิดนอ

จิตอันมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญหา

ปางที่ 38 พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงธนู คันศร และโล่กำบัง

(38) ออลาซันฮูลาเซลี

ปฏิบัติธรรมไม่ควรยึดติดขณะเดียวกันก็ห่าง

จากธรรมไม่ได้

ปางที่ 39 จอมทัพสุวรรณมงกุฏภูมิ หัตถ์ถือกระดิ่งทอง

(39) ฮัวซอฮัวซัน

ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก

ปางที่ 40 พระอมิตภพุทธเจ้า

(40) ฟูลาแซเย

หากสามารถละการยึดเกี่ยว เข้าถึงสภาวะดั้งเดิม

ก็จะพบ พระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

ปางที่ 41 เทพเจ้าแปดคติ พนมมือตั้งเมตตาจิต

(41) ฮูลูฮูลูมอลา

เมื่อบรรลุธรรมจะมีอภินิหารไม่อยู่ในการบังคับใดๆ

ปางที่ 42 เทพเจ้าสี่กร หัตถ์ถือดวงอาทิตย์และดวงจันทร์

(42) ฮูลูฮูลูซีลี

ผู้สำเร็จมหามรรคการกระทำใดๆ จะเป็นไปโดยอิสระ

ปางที่ 43
ภาพถ้ำพรหมโฆษ ณ ภูเขาพูถอ มณฑลจีเจียง

(43) ซอลาซอลา

ผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียร ก็จะพบพระโพธิสัตว์

ปางที่ 44 พระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม

หัตถ์ถืออมฤตกุณฑี (หม้อน้ำมนต์) และกิ่งทับทิม

(44) ซิดลีซิดลี

ผู้ตั้งใจประกอบกุศลธรรม จะมีความสมบูรณ์ในบุญกุศล

ปางที่ 45 พระอมฤตกรเนตรพระโพธิสัตว์

เสียงใบไม้ร่วง เป็นน้ำอมฤต

(45) ซูลูซูลู

น้ำทิพย์อันมีคุณอนันต์มาชำละล้างกายและจิตใจ ความ 

ปางที่ 46 พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มีเด็กติดตาม

(46) ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย

การตรัสรู้ธรรม ต้องมีความวิริยะพากเพียร ไม่มีท้อถอย

ปางที่ 47 พระอานนท์มหาเถร

หัตถ์อุ้มบาตรออกจาริกโปรดสัตว์

(47) ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย

ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ที่จะให้ทั้งคนดีและ

คนชั่วเข้าสู่สุขาวดีภูมิ ผู้ปฏิบัติธรรมจำต้องถือความเมตตา

กรุณาเป็นมูลฐาน

ปางที่ 48 พระเมตไตรยโพธิสัตว์

(48) มีตีหลี่เย

ปฏิบัติมหากรุณาธรรม เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค เมื่อปฏิบัติดังนี้ก็จะได้รับความหลุดพ้น

ปางที่ 49
พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์

(49) นอลากินซี

ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีต้องช่วยรักษา

ปางที่ 50 พระรัตนธวัชโพธิสัตว์ หัตถ์ถือหอกทองคำสามง่าม

(50) ตีลีสิดนีนอ

ผู้ปฏิบัติต้องเร่งรีบ และมีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

ปางที่ 51 พระสุวรรณภาธวัชโพธิสัตว์ หัตถ์ถือวชิรคทา

(51) ผ่อเยหม่อนอ

สุรเสียงก้องไปสิบทิศ

ปางที่ 52 พระอริยะสามเศียร นั่งขัดสมาธิโปรดสัตว์

(52) ซอผ่อฮอ

สรรพธรรมไม่เกิดไม่ดับเป็นความสงบมาแต่ดั้งเดิม ถ้า

สรรพสิ่งเข้าถึงนิพพาน โลกก็จะกลับกลายเป็นสุขาวดีภูมิ

ปางที่ 53 พระสารีบุตร อัครสาวกผู้รู้ธรรมทั้งหลาย

(53) สิดถ่อเย

เมื่อละว่างก็จะสามารถเข้าถึงความหลุดพันได้

ปางที่ 54 พระธรรมกาย เหยียบปลามังกร

ลักษณะโพธิ์สัตว์จำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา

(54) ซอผ่อฮอ

ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในความสัจจริงกับความปลอมแปลง ก็จะสำเร็จได้ง่าย 

ปางที่ 55
พระโพธิสัตวแปล่งรัศมี หัตถ์ถือรัตนธวัช

(55) หม่อฮอสิดถ่อเย

ความไพศาลของพระพุทธธรรมผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติ จะสำเร็จในพระพุทธผล

ปางที่ 56 พระโมคคัลลาน์ หัตถ์ถือไม้เท้าขักขระ

และอุ้มบาตร

(56) ซอผ่อฮอ

แนะนำสัตว์โลกให้เริ่มปฏิบัติมรรคผลโดยเร็ว

ปางที่ 57 พระโพธิสัตว์ และทวยเทพชุมนุม

ณ แดนสุขาวดี

(57) สิดถ่อยีอี

ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า

ปางที่ 58 พระอมิตภพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และ พระโพธิสัตว์ ปราฏเป็นรูปเทพี

(58) สิดพันลาเย

โปรดเหล่าบรรดาเทพีเพื่อให้สำเร็จในอิสรธรรม

ปางที่ 59 พระอชานเถระ หัตถ์ถือบาตรชูสูงเสมอศีรษะ

(59) ซอผ่อฮอ

ธรรมไม่มีขอบเขตจำกัด

ปางที่ 60 พระคี รีสาครปัญญาโพธิสัตว์

หัตถ์ถือดาบทองคำ

(60) นอลากินซี

โปรดพระอริยะเถระทางฝ่ายหินยาน 

ปางที่ 61 พระจันฑาลเถระ หาบงอบฟางถืออสังสกฤตธรรม

(61) ซอผ่อฮอ

สรรพสัตว์ควรตื่นตัวมาแสวงหาการบรรลุธรรม

ทางมหา ยาน อันมีจุดมุ่งหมายที่พระโพธิธรรม

ปางที่ 62 พระรัตนมุทรราชโพธิสัตว์ หัตถ์ถือขวานทองคำ

(62) มอลานอลา

การปฏิบัติธรรมอันยิ่ง ล้วนสำเร็จพุทธธรรมสมดังมุ่งหมาย

ปางที่ 63 พระเกาซีลาเถระ สวมร้องเท้าหญ้าเดินอยู่บนผิวน้ำ

(63) ซอผ่อฮอ

เนื้อแท้ของมหามรรคไม่มีอะไร เพียงทบทวนย้อนกลับ

เพื่อมุ่งเข้าสู่สภาวะเดิมของตน และศึกษาธรรม

อย่างจริงใจ และจริงจัง

ปางที่ 64 พระเภสัชราชโพธิสัตว์หัตถ์ถือสมุนไพร

รักษาโรค

(64) สิดลาเซง ออหมกเคเย

พระอริยะเพียรรักษาโรคทางจิตให้มลายหายสิ้น

ปางที่ 65 พระโพธิสัตว์ปรากฏเป็นสมบูรณ์โพธิสัตว์

พนมมือสวมเสื้อแดง

(65) ซอผ่อฮอ

คนเรามีโรคทางจิตเป็นภัย พระธรรมรักษาให้หายได้

ปางที่ 66 พระอุตรเภสัชโพธิสัตว์หัตถ์ถือกุณโทรักษา

โรคร้าย

(66) ซอผ่อหม่ฮอ ออสิดถ่อเย

สรรพสัตว์มีโอกาสสำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ

ได้เสมอภาค

ปางที่ 67
พระสารีบุตรเถระ หัตถ์ถือพระสูตร

(67) ซอผ่อฮอ

เผยแผ่พระสัทธรรมโปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ

ปางที่ 68 พระวชิรธรรมจักรโพธิสัตว์

(68) เจกิดลา ออสิดถ่อเย

การใช้วชิรธรรมจักรปราบเหล่ามารเพื่อความสำเร็จธรรม

ปางที่ 69 มารเทพราชหัตถ์ถือหอกยาวโปรดสัตว์โลก

ระงับความเกลียดชัง

(69) ซอผ่อฮอ

การปฏิบัติธรรมไม่เพียงแต่ลบล้างบาปกรรมและกำจัด

มารได้เท่านั้น ยังสามารถบรรลุพุทธภูมิได้ 

ปางที่ 70 พระสัทคนธ์เทพโพธิสัตว์ ยกกระถางธูปมโนรถ

(70) ปอทอมอกิต สิดถ่อเย

การย้ำเตือนผู้ปฏิบัติต้องประกอบด้วยสติปัญญา

ปางที่ 71 เทพเจ้าโปรยดอกปทุม 1000 กลีบ

(71) ซอผ่อฮอ

มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง ด้วยพิจารณา

ไม่ยึดติด ในทางใดทางหนึ่ง

ปางที่ 72 พระปูรณเถระ นั่งอุ้มบาตร

(72) นอ ลากินซี พันเคลาเย

ทรงสั่งสอนให้ละลักษณะต่างๆ อันเป็นสิ่งปลอมแปลง

ปางที่ 73 พระตาลีบุตรโพธิสัตว์

หัตถ์ถือถาดใส่ผลไม้สดเพื่อโปรด ให้ทานสรรพสัตว์

(73) ซอผ่อฮอ

การปฏิบัติธรรมให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก

ปางที่ 74 พระสมาธิญานโพธิ

นั่งขัดสมาธิถือโคมไฟรัตนะส่องแสงไปทั่วโลกธาตุ

(74) มอพอลีเซง กิตลาเย

ธรรมจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยสภาวะแห่งเมตตาธรรม

หาก จิตตั้งอยู่ใน อกุศล ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จ

พระอนุตตร ธรรมได้

ปางที่ 75
พระมหากัสสปะเถระ หัตถ์ถือประคำและไม้เท้า

(75) ซอผ่อฮอ

ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ เพื่อโปรดเหล่าสรรพ สัตว์ทั้งปวงให้ได้รับพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย

(เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมด แห่งมหากรุณาธารณี

สูตรมาไว้ประโยคนี้)

ปางที่ 76 พระอากาศครรภ์โพธิสัตว์ หัตถ์ถือดอกไม้ ประทับบนอาสน์ศิลา

(76) นำมอห่อลาตันนอ ตอลาเหย่เย

อย่าปล่อยเวลาให้เสียโอกาสหมั่นตั้งใจปฏิบัติธรรม

ปางที่ 77
พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ นั่งขัดสมาธิบน

พญาช้างแก้ว

(77) นำมอออหลี่เย

นอบน้อมสรรเสริญพระอริยะ

ปางที่ 78 พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ประทับสิงหาสน์ หัตถ์ชี้ฟ้า

(78) ผ่อลูกิตตี

พระสัทธรรมไม่มีสิ้นสุด

ปางที่ 79 ดอกบัวพันกลีบ

(79) ซอผ่อฮอ

เป็นอุบายให้สรรพสัตว์ละประสาทตาและรูปกายนอก
ปางที่ 80 พระโพธิสัตว์ วิพากษ์ถึงภัยแห่งเสียงที่

มากระทบหู 

(80) ซอผ่อฮอ

แม้จะละปราสาทสัมผัสทางตาแล้ว หูก็เป็นอุปสรรค

ที่จำ ต้องละเช่นกัน

ปางที่ 81 พระโพธิสัตว์ ชูนิ้วมือขึ้นทั้งหมด

(81) งัน สิตตินตู

การปฏิบัติธรรมจำต้องมีจิตที่สงบบังคับการหายใจให้

สม่ำเสมอ จนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ

ปางที่ 82 พระโพธิสัตว์ แสดงอาการชูหัตถ์ทั้งแปด

บรรยายเรื่องลิ้นที่ลิ้มรส

(82) มันตอลา

ผู้ปฏิบัติต้องปล่อยละประสาทสัมผัสแห่งลิ้น

เพื่อเข้าสู่ความ บริสุทธิ์เป็นธรรมชาติดั้งเดิมปางที่ 83
พระโพธิสัตว์ ปางถือบาตร

บรรยายถึงความโลภในการสัมผัส ให้ละกายสัมผัส

(83) ปัดถ่อเย

ร่ายกายเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

ปางที่ 84 พระโพธิสัตว์ ถือธวัชยาว

บรรยายแยกแยะธรรมลักษณะต่างๆ ให้รู้ว่าจิตสัมผัส (สัมผัสทางใจ) และธรรมภายนอกเป็นสิ่งหลอกลวง

(84) ซอผ่อฮอ

ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน

จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญกุศล ชำระจิตให้สะอาด

หมดจด นี่คือพระธรรมของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย